ติดต่อเรา 02-390-1062-3

“อรินทร์ จิรา” ปลุกความสามารถ “อาเซียน” เดินหน้าสู่การแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

สมาคมอัสสัมชัญ > Online Magazine > “อรินทร์ จิรา” ปลุกความสามารถ “อาเซียน” เดินหน้าสู่การแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

โดย ครองขวัญ รอดหมวน

ภาคการส่งออกเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยกว่า 70% ของจีดีพี มาจากภาคการส่งออกทั้งสิ้น และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าตลาดการส่งออกของประเทศไทย กระจายอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่า คู่ค้าที่สำคัญของไทยอยู่ในกลุ่มอาเซียน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันตลาดในกลุ่มอาเซียนได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก ว่ามีศักยภาพในการเติบโตอย่างโดดเด่น จนกลายเป็นที่จับตามองว่ากลุ่มประเทศอาเซียนจะเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพระดับโลก ด้วยศักยภาพที่เต็มเปี่ยมนี้เอง กำลังจะกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนให้กลุ่มประเทศในอาเซียนก้าวเข้าสู่เวทีการค้าโลกอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council : ASEAN BAC) จึงถูกตั้งขึ้นมาตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เมื่อเดือน .. 2544 กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุซซาลาม เพื่อเป็นกลไกปรึกษาหารือของภาคธุรกิจอาเซียนที่รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ที่เกี่ยวกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการค้าและการลงทุน และการจัดทำข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นกี่ยวกับการรวมตัวของเศรษฐกิจในอาเซียนและการร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียน เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและผู้นำอาเซียนในแต่ละปี

และในปี 2562 นี้ ในวาระที่ประเทศไทยได้รับหน้าที่เป็นประธานอาเซียน โดยในภาคเอกชนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ อรินทร์ จิรา (อัสสัมชนิกเลขประจำตัว 23236 รุ่น 80 ) ผู้แทนภาคเอกชนไทย ที่ได้ทำหน้าที่ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ที่ได้เริ่มเล่าถึงเส้นทางการทำงานในบทบาทนี้ ซึ่งอรินทร์ได้เริ่มเข้าร่วมภารกิจอาเซียน

ในบทบาทของภาคเอกชนตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับเกียรติให้ประธานอาเซียนภาคเอกชนถึง 3 ครั้ง ในปี 2551, ปี 2552 และในปัจจุบัน (ปี2562)

ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญของกลุ่มประเทศอาเซียน คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน และการเชื่อมโยงอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก

อรินทร์เล่าว่า ASEAN BAC ในปีนี้ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้กำหนดหัวข้อหลักของการดำเนินงาน คือ Empowering ASEAN 4.0 ซึ่งหัวข้อดังกล่าวมีความสอดคล้องและสนับสนุนกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล “Thailand 4.0” ที่มุ่งเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งยังเป็นการแสดงบทบาทของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนในการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการขับเคลื่อนภูมิภาคไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ

โดยมีหัวข้อหลักที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล (Digital Infrastructure) รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล, การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนทางด้านดิจิทัล (Digital Connectivity), การพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนความสามารถและแรงงานทักษะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (AHEAD – ASEAN Human Empowerment and Development in the 4IR)และการส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดจิ๋ว Micro, Small & Medium Enterprise (MSME) โดยเฉพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่และผู้ประกอบการสตรี รวมถึงช่วยเหลือ MSME ผ่านโครงการพี่ช่วยน้อง  (AMEN : ASEAN Mentorship for Entrepreneurs Network)

จะเห็นได้ชัดเจนว่า ASEAN BAC ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่าง Thailand 4.0 ที่หลายคนจึงไม่ค่อยมีความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมในเรื่องนี้มากเท่าไหร่

การผลักดันเพื่อให้เกิดความรู้และเข้าใจจึงกลายมาเป็นภารกิจที่สำคัญ การนำเรื่องดังกล่าวเข้ามาอยู่ในแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกมิติ และหัวใจสำคัญที่ว่าเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจอาเซียน 4.0 ไปด้วยกัน ไปพร้อม กัน จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งที่ผ่านมาภาคเอกชนได้มีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้มาระยะหนึ่งแล้ว อรินทร์ ระบุ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลยืนยันเสมอว่าภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยปรับตัวได้ดีขึ้น แต่หากลงไปดูในรายละเอียดจะพบว่า การปรับตัวที่ดีขึ้นนั้น เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจขนาดใหญ่หรือกลุ่มธุรกิจระดับบนเท่านั้น ขณะที่กลุ่มธุรกิจระดับล่าง ผู้ประกอบการรายย่อยยังคงประสบปัญหาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ เพราะต้องยอมรับว่ามาตรการต่าง ที่รัฐบาลได้พยายามผลักดันออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น เน้นขับเคลื่อนที่ภาพใหญ่ ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เดินหน้าไปได้ แต่ในมุมของ ASEAN BAC กลับมองว่า การขับเคลื่อนให้กลุ่ม MSME เดินหน้าต่อไปในการแข่งขันของภาคธุรกิจเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในยุคที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี อย่างยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

เพราะจากข้อมูลจะพบว่า กลุ่ม MSME มีสัดส่วนสูงถึง 40% ของจีดีพี อีกทั้งแรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ ก็มีสูงถึง 60-70% ของแรงงานทั้งหมด และกว่า 90% ของผู้ประกอบการ MSME ไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่หรือการดูแลให้ความช่วยเหลือของบริษัทขนาดใหญ่ ตรงนี้จึงกลายมาเป็นอีกภารกิจสำคัญที่ ASEAN BAC จะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ดูว่ามีอุปสรรคจากการค้า การลงทุนระหว่างกันในกลุ่มอาเซียนเกิดขึ้นตรงจุดไหน ก็ต้องเข้าไปแก้ไข โดยจะมีการวางเป้าหมายที่จะผลักดันในแต่ละภารกิจให้สำเร็จลุล่วงในแต่ละปี ทำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในภาพรวม

อีกสิ่งสำคัญในการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น ประเด็นเรื่องการพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงาน ก็กลายมาเป็นวาระที่ภาคเอกชนไม่มองข้าม โดยในฐานะประธาน ASEAN BAC ได้มีการประสานความร่วมมือกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการผลักดันประเด็นดังกล่าวให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ โดยการจัดทำเอกสารแนวทางการพัฒนาแรงงานทักษะ และผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Guideline on Skilled Labors and/or Professional Services Development in ressponse to the Fourth Industries Revolution) ซึ่งเอกสารดังกล่าวได้เตรียมที่จะเสนอผู้นำอาเซียนในเดือน .. 2562 ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอที่ประชุม ASEAN BAC เพื่อบรรจุเป็นโครงการพิเศษที่ภาคเอกชนของประเทศเจ้าภาพให้การผลักดันภายใต้โครงการเสริมสร้างความเชื่อมโยงด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ (AHEAD Legacy Project) ซึ่งที่ประชุม ASEAN BAC ให้ความเห็นชอบและสนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการ AHEAD ในกรอบอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เป็นข้อเสนอของภาคเอกชนที่จะเสนอต่อภาครัฐ เพื่อกำหนดแผนงานและมาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาแรงงานทักษะ และ/หรือผู้ประกอบวิชาชีพในการเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

สุดท้ายนี้อรินทร์ยังฝากมาเรียนเชิญเพื่อ น้อง อัสสัมชนิกที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ASEAN Business and Investment Summit 2019 (ABIS) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 และ 3 พฤศจิกายน 2562 ฮอลล์ 6 ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรม การค้า และการลงทุนต่างๆของนักธุรกิจไทยไม่มากก็น้อย

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม: https://share1.cloudhq-mkt3.net/fa8e2428bf4d5a.jpeg

ASEAN Facts

  1. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีสมาชิกก่อตั้ง  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
  2. ปัจจุบันASEANประกอบไปด้วยสมาชิก 10 ประเทศ และสมาชิกสังเกตุการณ์อีก 2 ประเทศ (ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และติมอร์ เลสเต)
  3. ASEANมีประชากรรวมกันกว่า 650 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือ อินโดนีเซีย และน้อยที่สุดคือ บรูไนฯ
  4. หนึ่งในผู้ริเริ่มแนวคิดการก่อตั้งASEANคือ พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อัสสัมชนิกเลขประจำตัว 7066 ซึ่งดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น
  5. คำขวัญของASEANคือ “One Vision, One Identity, One Community” แปลเป็นไทยว่าหนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม