ติดต่อเรา 02-390-1062-3

“ภมรชัย อภิชาติประคัลภ์” ขับเคลื่อนความรู้ สู่การสร้าง “โอกาส” และ “การแบ่งปัน” ผ่าน Team Beyond

สมาคมอัสสัมชัญ > Online Magazine > “ภมรชัย อภิชาติประคัลภ์” ขับเคลื่อนความรู้ สู่การสร้าง “โอกาส” และ “การแบ่งปัน” ผ่าน Team Beyond

โดย ครองขวัญ รอดหมวน

#ทีมแห่งโอกาส #สังคมแห่งการแบ่งปัน หนึ่งในทิศทางของ Team Beyond ทีมกีฬาที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งนำโดยอั้ม ดร.ภมรชัย อภิชาติประคัลภ์ (อัสสัมชนิก รุ่น 109 เลขประจำตัว 31849) ผู้ร่วมก่อตั้ง ปลุกปั้น และผลักดันให้ Team Beyond เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากทีมกีฬาที่ได้ชื่อว่าเป็นตัวตลกปลายแถวของวงการวิ่ง ให้ก้าวมายืนแถวหน้าได้อย่างภาคภูมิ

โดยปัจจุบันภมรชัยซึ่งทำธุรกิจบริษัทจัดจำหน่ายอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงมากกว่า 7 แบรนด์ โดยเป็นแบรนด์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารนก ยี่ห้อ Versele-laga ของเบลเยี่ยมแต่เพียงรายเดียวในประเทศไทย ที่ครองมาร์เก็ตแชร์เกินกว่า 70% ในตลาด

ภมรชัยเริ่มเล่าว่า Team Beyond เริ่มต้นจากการรวมตัวของเพื่อนศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัน รุ่น 109 จำนวน 5 คน ซึ่งแต่ละคนมีความถนัด และเชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป แต่ก็มารวมตัวกันทำทีมนี้ขึ้นมา โดยจุดประสงค์แรกของ Team Beyond ตอนนั้น คือ การเปิดกว้างให้คนที่รัก คนที่มีความสามารถ รวมไปถึงคนที่อยากจะเล่นกีฬา โดยเฉพาะการวิ่งออกกำลังกายมีโอกาสได้เล่นกีฬาอย่างถูกวิธี

เดิมที่ผมเป็นคนชอบเล่นกีฬาอยู่แล้ว สมัยที่เรียนอยู่อัสสัมชัญก็เล่นบาสเก็ตบอล เทนนิส พอเข้ามหาวิทยาลัยก็เล่นรักบี้ แต่พอเรียนจบกลับไม่ได้เล่นกีฬาอะไรเลย ปล่อยตัวให้อ้วน สุขภาพไม่ดี จนมีเพื่อนในรุ่น 109 มาชวนไปวิ่งออกกำลังกาย และทำ Team Beyond”

Team Beyond มีสมาชิกรุ่นแรกประมาณ 30-40 คน จากคนหลายๆกลุ่ม หลายๆลักษณะที่ชักชวนกันมาโดยแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก คือ 1. นักกีฬาที่เป็น Net Idol เช่น ประเภทที่วิ่งเก่ง เป็นที่รู้จักในโลกโซเชียลมีเดีย 2. กลุ่มสมาชิกพิเศษ เช่น ผู้ที่มีความพิเศษในร่างกาย ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ 3. กลุ่มที่มีพรสวรรค์ เกิดมาเพื่อเป็นนักกีฬา และ 4. กลุ่มสมาชิกที่รักชอบในการวิ่งและพร้อมที่จะจ่ายเงินค่าสมาชิกให้กับทีม

ภมรชัยยอมรับว่า ช่วงปีแรกที่ทำ Team Beyond เหนื่อยมาก และเป็นปีที่ทีมล้มเหลวไม่เป็นท่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขณะนั้นทีมยังไม่มีแก่นสารที่แท้จริง ไม่มีธง ผู้ก่อตั้งทั้ง 5 คนมีทิศทางในการทำทีมที่ไม่เหมือนกัน และอีกเรื่องที่สำคัญคือ เรื่องเงิน เนื่องจากในช่วงที่ก่อตั้งทั้ง 5 คนจะลงเงินกันคนละ 1 แสนบาท และภายในเวลา 5 เดือนทีมใช้เงินหมดเกลี้ยง แม้ว่าจะมีสปอร์นเซอร์มาซับพอร์ตทีมเยอะมาก แต่ด้วยความที่ยังไม่มีประสบการณ์ ทำให้ Team Beyond จึงยังไม่ประสบความสำเร็จในช่วงนั้น

ทิศทางของผม คือ ผมต้องการสร้างทีมที่เป็นทีมแห่งการแบ่งปัน เป็นทีมแห่งโอกาส ผมต้องการสนับสนุนใครสักคนที่มีความต้องการสามารถเล่นกีฬาได้ ผมต้องการแค่ตรงนั้น แต่ทิศทางของคนอื่นๆ อาจจะมองไม่ตรงกัน ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าตอนนั้นมีความขัดแย้งของผู้ก่อตั้ง ทำให้ทีมไม่มีทิศทาง ไม่มีภาพที่ชัดเจน สถานการณ์แย่จนจนถึงขั้นที่ผมคิดว่าจะ “ยุติ” การทำทีม

แต่มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของ Team Beyond คือ ผมได้มีโอกาสเจอเพื่อนสมาชิกกลุ่มที่จ่ายเงินค่าสมาชิกให้กับทีม 4-5 คน ซึ่งคนเหล่านี้จ่ายเงินเพื่อแบ่งปันให้กับคนที่รักกีฬาแต่ขาดโอกาสตามวัตถุประสงค์ของทีม ทำให้ผมคิดว่า จะหยุดไม่ได้! ต่อให้ทีมขาดทุนแค่ไหนก็หยุดไม่ได้ เพราะยังมีคนอีกกลุ่มที่ยังเชื่อในแนวทางเดียวกันว่า Team Beyond ยังไปได้ โดยเสียงที่ดังในหัวผมตอนนั้น คือ ใครจะอยู่ต่อก็อยู่ ใครไม่อยู่ก็ไม่เป็นไร ทีมจะหยุดก็ต่อเมื่อเพื่อนสมาชิกตัดสินใจหยุดสนับสนุนทีม และตัดสินใจเดินหน้าบริหารทีมต่อจนถึงทุกวันนี้

ในความโชคร้าย ก็ยังมีเรื่องดีๆ เข้ามา เพราะแม้ว่าทีมจะมีปัญหา แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือที่ดีจาก เพื่อนๆอัสสัมชัญรุ่น 109 กว่า 10 คน ที่เดินเข้ามาหาและยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ผมประทับใจมาก เพราะเพื่อนบางคนผมจำชื่อไม่ได้ด้วยซ้ำ ไม่เคยคุยด้วย แต่เค้าเห็นเรื่องราวของ Team Beyond จากแฟนเพจเฟซบุ๊ก จนในที่สุดเพื่อนๆ เหล่านั้น ก็กลายมาเป็นผู้บริหารทีมชุดใหม่ จำนวน 9 คน และกลายมาเป็นเพื่อนที่สนิทกันมากในปัจจุบัน โดยหลังจากนั้นก็ได้มีการวางรูปแบบการทำทีม การซ้อมใหม่

ผมมีทิศทางชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบการซ้อมใหม่ว่า ทีมไม่ควรพึ่งพาโค้ชคนใดคนหนึ่งมากจนเกินไป แต่ทีมควรจะสร้างโค้ชที่มีศักยภาพขึ้นมา จึงกลายมาเป็นหลักสูตร Beyond หลักสูตรที่สร้างโค้ชวิ่งด้วยตัวเอง ด้วยกระบวนการที่ถูกต้องจากการสร้างองค์ความรู้ การเชิญผู้เชี่ยวชาญ โค้ชทีมชาติเข้ามาเสริมจนในที่สุดปัจจุบัน Team Beyond ก็มีโค้ชที่แบ่งตามศักยภาพและความสามารถของตัวเอง ทั้งหมด 20 กว่าคน ที่สามารถหมุนเวียนให้ความรู้กับสมาชิกในทีม ซึ่งทั้ง 20 กว่าคนนี้พัฒนามาจากสมาชิก จากคนที่มีความสามารถ ผ่านบททดสอบที่สำคัญของทีมคือ #ทีมแห่งโอกาส และ #สังคมแห่งการแบ่งปัน ผมทัศนคติตรงนี้มาก่อนความสามารถ เพราะในส่วนนั้นสามารถพัฒนาและเสริมสร้างกันได้

Team Beyond ถูกพัฒนาและยกระดับให้แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากตัวตลกในวันนั้น กลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในวันนี้ภมรชัยกล่าวว่า ทุกวันนี้ Team Beyond แข็งแกร่งขึ้น ด้วยจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นเป็น 200-300 คน มีสมาชิกที่มาร่วมซ้อม 40-50 คนต่อวัน และพูดได้ว่า Team Beyond เป็นทีมที่เก็บเงินจากการฝึกซ้อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ทั้งนี้เงินที่ได้จากสมาชิกทุกคน ไม่ใช่แค่มาดูแลเรื่องการฝึกซ้อมเท่านั้น แต่ Team Beyond มีโรดแมปชัดเจนว่านอกเหนือจากการฝึกซ้อมแล้ว เงินตรงนั้นจะถูกนำไปใช้อย่างไรบ้าง โดยในแต่ละปีทีมจะมีการจัดกิจกรรมดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น ในปี 2562 นี้ได้บริจาคเงินให้ โรงพยาบาลยุพราชจอมบึง .ราชบุรี พร้อมกับจัดงานวิ่ง และก็มีจัดโครงการสอนวิ่งที่ .หนองคาย และมีกิจกรรมดี อย่างนี้เรื่อย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้คนที่รักกีฬาวิ่ง อยากวิ่งได้ทำด้วย โดยในแต่ละปีจะมีการเชิญโค้ชที่มีความรู้มาเปิดสอนเกี่ยวกับทักษะการวิ่งที่ถูกต้อง การสร้างองค์ความรู้ในการกีฬาฟรี, โครงการแบ่งปัน โดยจะรับบริจาคของจากวงการวิ่ง ใครมีอะไรที่เหลือใช้ เอามารวมกันและจะหาโรงเรียนที่ต้องการและมอบให้ บวกกับอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬาที่ต้องการ, การจัดแคมป์เยาวชนฟรี ให้ผู้ปกครองส่งเด็กมาเรียนรู้วิธีการวิ่งที่ถูกวิธี แบ่งตามกลุ่มอายุ โดยโครงการนี้จัดทุกวันเสาร์ของเดือน .. ของทุกปี และหลังจากจบแคมป์จะมีทุนการศึกษามอบให้กับคนที่มีทักษะที่ดี มีศักยภาพที่ดี และอยากเล่นกีฬาต่อ เพื่อเป็นกำลังใจมอบให้ และถ้าเด็กสนใจก็สามารถเข้าเป็นสมาชิกทีมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการสนับสนุนเด็กให้เดินไปได้ถูกทาง

Team Beyond อยู่กันแบบครอบครัว ในทีมมีสมาชิกหลากหลาย ทุกเพศทุกวัย มีคนที่ทำธุรกิจใหญ่โต น้องๆนักศึกษา พนักงานบริษัท สมาชิกบางคนก็ยังไม่มีงานทำ น้องบางคนเป็นลูกของเพื่อนในรุ่น และไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นอัสสัมชัญ หรือมีใครนำมา แต่ทุกคนก็คุยกันหมด เวลาที่ทุกคนมาซ้อม เจอกันบ่อยๆก็สนิทกัน มีกิจกรรมดีๆ ก็ไปทำด้วยกัน จนกลายมาเป็นความผูกพันของทีม

ภมรชัยเล่าว่า ผมคิดว่าตอนนี้ Team Beyond เดินตามทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ส่วนทิศทางของทีมที่ผมวางไว้หลังจากนี้ค่อนข้างทะเยอทะยานมากๆ จากการอยากสร้างทีมกีฬาที่เป็นสังคมแห่งการแบ่ง ขยับมาเป็นทีมกีฬาที่สร้างสังคมแห่งโอกาส ขยับมาเป็นทีมกีฬาแห่งการให้ความรู้ที่ไม่รู้จบ และตอนนี้ความทะเยอทะยานต่อไปของ Team Beyond คือจะมีสักวันที่คนไทยสามารถพัฒนาองค์รวมจากความรู้ของการวิ่งทั้งหมด จนสามารถสร้างสถิติมาราธอนระดับโลกได้ซึ่งไม่ได้กำจัดว่าความทะเยอทะยานนี้จะต้องสำเร็จโดยเร็ว เพียงแค่อยากเห็นภาพนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะใน 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี หรือ 30 ปี ก็ได้

ผมอยากให้ทุกคนก้าวขึ้นมาแข่งขัน ทำอย่างไรให้กรุงเทพฯ หรือประเทศไทย กลายเป็นเมืองที่รักการวิ่ง กีฬาคือการเรียนรู้ กีฬาไม่เคยหยุดนิ่ง เพราะการเรียนรู้กับกีฬาคือสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆอัสสัมชัญ ที่อยากออกวิ่ง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง หรือเริ่มไปแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าที่ทำอยู่ถูกต้องหรือไม่ภมรชัยฝากบอกมาว่าก็เรียนเชิญเข้ามาได้เลยครับ เดินเข้ามาหา Team Beyond ได้เลย” (ในทุกวันอังคาร พฤหัส และเสาร์ ของทุกสัปดาห์ ช่วง 18.00 – 20.00 . ทีมจะซ้อมที่สนามฟุตบอลเทพหัสดิน ภายในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ) มาลองดู ลองซ้อมด้วยกันก่อนได้ หรือถ้าต้องการแบ่งปันเรื่องที่เรารักอย่างการกีฬา ไปให้แก่คนที่ยังขาดโอกาส ก็สามารถมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมด้วยกัน